header
  หน้าหลัก | จังหวัดกาญจนบุรี | จังหวัดราชบุรี | จังหวัดสมุทรสงคราม | ภาพถ่ายโครงการ| แผนที่โครงการ |  

 

    วัตถุประสงค์โครงการ

    ขอบเขตงานวิจัย
    ภูมิอากาศ
    คณะผู้จัดทำโครงการ
    ดาวโหลดข้อมูล
 

ขอบเขตของโครงการวิจัย

  1. ศึกษาตำแหน่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศริมน้ำของประเทศไทยตามสายน้ำที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติที่งดงาม
  2. รวบรวมและนำเสนอสารสนเทศรายละเอียดสถาปัตยกรรมริมน้ำและสิ่งแวดล้อมตามสายน้ำแม่กลอง และคลองย่อยๆ ด้วยแผนที่ เส้นทางการคมนาคม ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม
  3. รวบรวมและนำเสนอสารสนเทศรูปแบบงานสถาปัตยกรรมริมน้ำซึ่งทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตามสายน้ำพื้นที่ภาคกลางของประเทศ
  4. เผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นแผ่น CD
  5. เสนอแนะแนวทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ทฤษฎี สมมุติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย

แม่น้ำสายหลักในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นสายน้ำที่มีแม่น้ำสายย่อยๆหลายสายไหลมารวมกันคือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน และยังมีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติ แม่น้ำสายรองลงมาได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเพชรบุรี ฯลฯเป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองหลวงและเมืองใหญ่ๆของประเทศไทยล้วนตั้งอยู่ริมน้ำ เช่น กรุงสุโขทัยซึ่งเป็นราชธานีเดิมและเป็นแหล่งมรดกโลกตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำยม กรุงศรีอยุธยาแหล่งมรดกโลกตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบกัน เมืองสมุทรสงครามตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เป็นพื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญในประวัติศาสตร์ และสืบทอดวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกของชาติมายาวนาน เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่๒  รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติอันเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของชนชาติไทยแต่โบราณกาล ประกอบด้วยพื้นที่ป่าชายเลน และพื้นที่ทำการเกษตรกรรม ดังนั้นการดำรงรักษาระบบนิเวศของพื้นที่ริมน้ำย่อมเป็นการดำรงไว้ซึ่งแหล่งทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชุมชนริมน้ำและชนชาติไทยซึ่งทำการเกษตรกรรมเป็นพื้นฐาน การพัฒนาสารสนเทศสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมริมน้ำย่อมเป็นการสร้างเสริมรากฐานของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าไว้ให้สืบทอดสู่อนุชนรุ่นต่อไปและช่วยเสริมสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย โดยเริ่มจากแม่น้ำแม่กลองและสายน้ำย่อยๆอีกหลายสายที่เป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมและชุมชนริมน้ำหลากหลาย ผสานกับธรรมชาติที่งดงาม

เอกสารอ้างอิง

  1. Jaijongrak, R. (1993), The Central Region Thai Houses. Bangkok: Chalongrat Print.
  2. Jaijongrak, R. (1996), Thai Traditional House. Bangkok: Thammasat University Press.
  3. Jindamaneeroch, S. (1992), Local History of the Maeklong Basin. Bangkok: Pikanes Printing.
  4. Jumsai, S. (1984), Water and Thai Identity. Bangkok: Thaiwattana Panich Printing.
  5. Nathasupa, C. (1995), Thai Culture and the Process of Social Change. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
  6. Panin, O. (1991), Vernacular Houses and Villages. Bangkok: Thammasat University Press.
  7. Piromreun (1992), The Study of Tachin Basin. Bangkok: Silpakorn University Press.
  8. Tongpan, S. (1993), Cultural and Historical City in Petchaburi. Bangkok: Dansutha Printing.
  9. Vallipodama, S. (1992), Maeklong. Bangkok.: Amarin Printing Center.
Copyright 2013 by KMITL. All rights reserved.