วัตถุประสงค์โครงการ
ร3. วัดไทรอารีรักษ์ ที่ตั้ง:ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ละติจูด 13° 42' 0.67" เหนือ ลองจิจูด 99° 50' 59.53" ตะวันออก ประวัติโดยสังเขป วัดไทรอารีรักษ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งทิศตะวันออก ถือเป็นวัดมอญที่อยู่ใต้สุดของวัดมอญลุ่มน้ำแม่กลอง นับจากเขตอำเภอบ้านโป่งลงมา วัดนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2353 เดิมเป็นวัดร้างสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมากลุ่มชาวมอญที่อพยพมาจากประเทศพม่าและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในบริเวณนี้ ได้ช่วยกันบูรณ ปฏิสังขรณ์วิหารเก่าของวัด และได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดวิหาร” หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดไทร” และต่อมาเป็น “วัดไทรอารีรักษ์” ในปัจจุบัน ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ วิหารลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ภายในมีเก๋งจีนขนาดใหญ่ สร้างเป็นมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท โดยทางวัดยังรักษา ขนบธรรมเนียมแบบมอญ คือ ผู้หญิงห้ามเข้าไปภายในวิหาร พระอุโบสถ ภาพในมีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้าน และภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มุขสกัดด้านนอกริมแม่น้ำแม่กลอง เขียนเป็นเรื่องชาดก พุทธประวัติ และพระอริยสงฆ์ ในรายละเอียดของภาพ สะท้อนให้เห็นชีวิต สังคม วัฒนธรรม ของกลุ่มคนชาวมอญในอดีต หอระฆังบริเวณกุฏิเจ้าอาวาส เดิมเป็นเครื่องไม้ทั้งหมด ภายหลังมีการเปลี่ยนจากเสาไม้ เป็นเสาคอนกรีต บริเวณฝ้าเพดานมีการจำหลักไม้ปิดทอง และชายคาประดับด้วยไม้แกะสลัก ที่สวยงาม โรงครัว เดิมเป็นกุฏิสงฆ์ สร้างด้วยไม้ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยภาคกลาง
ประวัติโดยสังเขป
วัดไทรอารีรักษ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งทิศตะวันออก ถือเป็นวัดมอญที่อยู่ใต้สุดของวัดมอญลุ่มน้ำแม่กลอง นับจากเขตอำเภอบ้านโป่งลงมา วัดนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2353 เดิมเป็นวัดร้างสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมากลุ่มชาวมอญที่อพยพมาจากประเทศพม่าและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในบริเวณนี้ ได้ช่วยกันบูรณ ปฏิสังขรณ์วิหารเก่าของวัด และได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดวิหาร” หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดไทร” และต่อมาเป็น “วัดไทรอารีรักษ์” ในปัจจุบัน ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่