header
  หน้าหลัก | จังหวัดกาญจนบุรี | จังหวัดราชบุรี | จังหวัดสมุทรสงคราม | ภาพถ่ายโครงการ| แผนที่โครงการ |  

 

    วัตถุประสงค์โครงการ

    ขอบเขตงานวิจัย
    ภูมิอากาศ
    คณะผู้จัดทำโครงการ
    ดาวโหลดข้อมูล
 
ร6. วัดสนามชัย

ที่ตั้ง:ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ละติจูด 13° 38' 35.15" เหนือ
ลองจิจูด 99° 49' 8.88" ตะวันออก

ประวัติโดยสังเขป

วัดสนามชัยเป็นวัดที่สร้างมานาน ไม่ทราบประวัติที่แน่นอน จากคำบอกเล่าทราบว่า พระวิเชน ซึ่งเป็นนายกองช้างเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างวัด โดยเจ้าอาวาสวัดสนามชัยที่มีชื่อเสียง คือ พระครูอินทโมฬี (ชาวบ้านนิยมเรียก พระครูสุง) เนื่องจากท่านเป็นพระเถระที่มีคนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ท่านยังได้ ร่วมกับราษฎรจำนวนหนึ่งกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เพื่อขอรับ พระราชทานวิสุงคามสีมา และพระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมการปัก กำหนดโดยยาว 40 วา 2 ศอก กว้าง 20 วา เมื่อปี พ.ศ. 2431 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2442 ทางวัดได้เริ่มสร้างพระอุโบสถ โดยสร้างฐานราก ก่อผนังทั้งสี่ด้าน มีฐานชุกชีพระประธาน แล้วทำพิธีฝังลูกนิมิต การก่อสร้าง โดยนายช่างคนไทย แต่การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงเมื่อ หลวงตายัง เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้มรณภาพ ต่อมาถึงสมัยหลวงตาชื่นเป็นเจ้าอาวาส ได้เริ่มก่อสร้างพระอุโบสถต่อจากเดิม และมีการย้ายกุฏิพระ ให้มารวมอยู่กับหอสวดมนต์ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับศาลาการเปรียญ การก่อสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2469 ในสมัยสมภารหู้เป็นเจ้าอาวาส นอกจากนี้ สมภารหู้ ยังได้สร้างหอฉันขึ้นมาอีกด้วย หลังจากนั้น สมภารหู้ได้ลาสิกขาบท และจำนวนพระที่มาบวชใหม่ก็ลดลง ทำให้วัดสนามชัยเริ่มทรุดโทรมลง เนื่องจากไม่มีการดูแลอย่างทั่วถึง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 พระประหยัด ปัณฑิโต (วงศ์ยะรา) นักธรรมเอกจากวัดโคกบำรุงราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มาเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้พัฒนาวัดในหลายๆ ด้าน จากเดิมที่มีพระเพียงรูปเดียว จนมีพระและสามเณรอยู่จำพรรษากว่า 50 รูป มีการเรียนบาลีนักธรรม และเปิดสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 ในปีพ.ศ. 2497 ต่อมาวัดสนามชัย ได้ขยายอาณาเขตออก 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออกของวัด มีการซื้อที่เป็นที่ธรณีสงฆ์ ประมาณ 40 ไร่ สร้างโรงเรียนมัธยมวัดสนามชัย พร้อมสนามฟุตบอล รวมทั้งจัดตั้งมูลนิธิของวัด

ปัจจุบัน วัดสนามชัย ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ภายในวัดมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม คือ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และหอระฆัง
Copyright 2013 by KMITL. All rights reserved.